ด้านการขนส่ง
การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล
การประกันภัยการขนส่งทางทะเล เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยจะให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าจากภัยต่างๆ ในระหว่างการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดย เรือเดินทะเล, เครื่องบิน, รถยนต์, รถไฟ หรือทางไปรษณีย์ ประโยชน์ของการประกันภัยการขนส่งทางทะเล คือ การชดเชยความสูญเสียทางการเงินจาก ความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้า ซึ่งไม่มีใครสามารถรับรองได้ว่าจะไม่มีทางเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง
โดยส่วนใหญ่หลักการชดใช้ภายใต้กรมธรรม์ขนส่งสินค้าทางทะเลนี้ จะใช้หลักความคุ้มครองชดใช้ภายใต้หลักสากลของ Institute Cargo Clause (ICC) สำหรับความเสียหายของทรัพย์สินที่ขนส่ง ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยความคุ้มครองจะกำหนดได้โดยเริ่มต้นจากแหล่งที่ผลิตสินค้า โกดัง ท่าเรือ สนามบิน ฯลฯ และสิ้นสุดในกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
- ขนส่งไปยังสถานที่ๆระบุของผู้รับสินค้า หรือโกดังเก็บสินค้าสุดท้ายปลายทาง
- ขนส่งไปยังสถานที่เก็บสินค้าชั่วคราวเพื่อรอการขนส่งต่อไปยังสถานที่อื่นๆ
- ความคุ้มครองจะยังสามารถขยายต่ออีก 60 วันหลังจากส่งถึงสถานที่เก็บสินค้าชั่วคราว หรือขนส่งถึงสถานที่ปลายทางที่ระบุไว้
ตัวอย่างเงื่อนไขในการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดประกัน:
- FOB (Free On Board) – ผู้ซื้อเป็นผู้จัดประกันภัย
- C & F (Cost and Freight) - ผู้ซื้อเป็นผู้จัดประกันภัย
- CIF (Cost Insurance and Freight) - ผู้ขายเป็นผู้จัดประกันภัย
ตัวอย่างเงื่อนไขความคุ้มครองในแต่ละประเภทกรมธรรม์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ :
ภัย | ICC(A) | ICC(B) | ICC(C) |
---|---|---|---|
ไฟไหม้ และ การระเบิด | 0 | 0 | 0 |
ตัวเรือเกยตื้น ติดสันดร จม หรือ พลิกคว่ำ | 0 | 0 | 0 |
การพลิกค่ำ หรือ ตกราง (ในกรณีขนส่งทางบก) | 0 | 0 | 0 |
การชนกับเรือลำอื่น พาหนะขนส่งอื่นๆ หรือวัตถุอื่นๆที่ไม่ใช่น้ำ | 0 | 0 | 0 |
กรณีสละสินค้าที่ท่าเรือเพื่อซ่อมเรือที่ใกล้กับบริเวณที่เกิดภัยพิบัติ | 0 | 0 | 0 |
แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือ ฟ้าฝ่า | 0 | 0 | x |
การเฉลี่ยค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาเรือตามกฏ General Average | 0 | 0 | 0 |
การโยนสินค้าออกเพื่อทำให้เรือหรือเครื่องบินเบาขึ้น | 0 | 0 | 0 |
คลื่นซัดสินค้าทำให้หล่นจากเรือ | 0 | 0 | x |
น้ำเข้าเรือ เข้าพาหนะ เข้าคอนเทรนเนอร์ หรือสถานที่ที่เก็บสินค้า และทำให้สินค้าเสียหาย | 0 | 0 | x |
เสียหายทั้งหมดต่อบรรจุภัณฑ์ของสินค้า หรือความเสียหายจากการหล่น กระแทกในระหว่างการยกขึ้น ยกลง จากพาหนะที่ใช้ขนส่ง | 0 | 0 | x |
ค่าใช้จ่ายในการกู้ซากสินค้า | 0 | 0 | 0 |
ความเสียหายที่เกิดจากการ ขโมย โจรสลัด และส่งสินค้าไม่ถึงปลายทาง | 0 | x | x |
0 - คุ้มครอง, x - ไม่คุ้มครอง
ประเภทของกรมธรรม์
ประเภทของกรมธรรม์การขนส่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของ ความเสี่ยงของผู้ประกอบการและจำนวนปริมาณความถี่การขนส่งดังนี้
1) ประเภทกรมธรรม์เดี่ยว
เป็นการออกกรมธรรม์เป็นครั้งๆเพื่อคุ้มครองสินค้าที่นำเข้าและส่งออกที่มีจำนวนไม่สม่ำเสมอ จะคุ้มครองเป็นต่อเที่ยวของการขนส่งนั้นๆ ซึ่งจะมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองตามที่ผู้เอาประกันภัยกำหนด
2) ประเภทกรมธรรม์เปิด (Open Cover)
เป็นการออกกรมธรรม์หลักที่เปิดให้ผู้ประกอบการนั้นๆสามารถขนส่งสินค้าที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ตลอดอายุกรมธรรม์ได้โดยไม่ต้องแจ้งความคุ้มครองล่วงหน้าก่อนเริ่มขนส่ง ซึ่งกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ (หากสินค้า เส้นทาง และเงื่อนไขการขนส่งตามเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์) แต่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรวบรวมแจ้งบริษัทประกันภัยทราบถึงปริมาณการขนส่งสินค้าต่างๆที่เกิดขึ้นตามจริงนั้น (รายเดือน / ราย 3 เดือน / รายปี) เป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เอาประกันภัยที่มีการขนส่งสินค้าจำนวนมากๆและเที่ยวการขนส่งบ่อยๆ เพื่อป้องกันการลืมแจ้งประกันภัยให้เริ่มความคุ้มครอง โดยผู้เอาประกันภัยอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยในอัตรา 65 – 80% ของเบี้ยทั้งหมดประเมินจากยอดประมาณการขนส่งทั้งปีก่อน และปรับปรุงยอดเบี้ยประกันภัยอีกครั้งตามจำนวนที่ได้แจ้งแท้จริงภายหลัง
ข้อยกเว้นทั่วไปในกรมธรรม์การขนส่ง (ทางเรือและอากาศ)
- 1. การเสื่อมสภาพของสินค้าเอง ที่เป็นไปตามธรรมชาติ
- 2. ยกเลิก ระงับ โดยศุลกากร
- 3. ใช้บรรจุภัณฑ์ไม่เหมาะสม หรือไม่แข็งแรงพอ
- 4. การละทิ้งสินค้าโดยไม่ใครดูแล
- 5. ปัญหาการชำระค่าสินค้าของคู้ค้า
- 6. ทุจริต ยักยอก โดยลูกจ้าง
- 7. การเสียลูกค้า หรือตลาด เนื่องจากการขนส่งที่ล่าช้า
- 8. ความเสียหายที่เกินวงเงินคุ้มครองในกรมธรรม
- 9. ความเสียหายที่เกิดกับสินค้าหลังจากการขนส่งเกิน 30 วัน
- 10.สินค้าที่ระบุในใบตราส่งให้วางบนดาดฟ้าเรือ(ต้องแจ้งบริษัทประกันภัย)
- 11.ความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือแรงกดอากาศ
- 12.การแจ้งความเสียหายล่าช้าเกินกำหนด เช่น
- ความเสียหายทั่วไป – 7 วัน,
- ความเสียหายที่ต้องพิสูจน์ – 14 วัน,
- สินค้าไม่ส่งถึงที่หมาย – 120 วัน - 13.สินค้าเก่าที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว (ต้องแจ้งบริษัทประกันภัย)
การประกันภัยการขนส่งสินค้าในประเทศ
เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองถึงสินค้าที่ขนส่งในประเทศไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถยนต์, รถไฟ, ไปรษณีย์, เรือ, ฯลฯ ซี่งสามารถให้ความคุ้มครองสาเหตุความเสียหายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทกรรม์ที่ซื้อ เช่น การชน การคว่ำของพาหนะที่ใช้ขนส่ง รถไฟตกราง ไฟไหม้ การขโมย เปียกน้ำ เรือเกยตื้น เรือจม ฯลฯ
การประกันภัยของผู้ปฏิบัติการท่าเรือ
ผู้ประกอบการท่าเรือนั้นต้องเผชิญกับความรับผิดชอบที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเรือที่เข้ามาเทียบท่า สินค้าที่ยกขึ้น/ลงจากเรือหรือรถ สินค้าที่ฝากอยู่ในโกดัง คอนเทนเนอร์และสินค้าที่วางอยู่ที่ลานรอการขนส่ง รวมถึงทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลที่อยู่ภายใต้การดูแล เช่น คอนเทนเนอร์เครน, ตัวท่าเรือ (เนื่องจากเริอชน), ระบบคอมพิวเตอร์, ซอฟแวร์, อาคาร, โกดัง, เครื่องมือ, เครื่องจักร, รถยกต่างๆ
กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบการท่าเรือไม่เพียงแต่คุ้มครองทรพย์สินต่างๆของผู้เอาประกันภัยเองต่อ ภัยธรรมชาติ และอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดจากปัจจัยภายนอกแล้ว ยังสามารถขยายถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เช่น สินค้าที่รับฝาก สินค้าที่ยกขึ้น ลง การจัดระเบียบสินค้าเพื่อส่งไปประเทศต่างๆ ตัวเรือที่มาเทียบท่า การให้สัญญาณในการเทียบท่า การบาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินอื่นๆของบุคคลภายนอก
การประกันภัยตัวเรือ
คุ้มครองทุกความเสียหายไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนใดของตัวเรือ ไม่ว่าโครงสร้างของเรือจะทำด้วยเหล็ก หรือวัสดุใดๆ รวมถึงเครื่องจักรที่ให้พลังงานในการเดินเรือและให้แสงสว่าง ความร้อน ความเย็น ยังสามารถขยายถึงความเสียหายจากเครื่องจักรหยุดชะงัก และความรับผิดของเจ้าของเรือเนื่องจากการชน
การประกันภัยขนส่งสินค้าที่ใช้ในโครงการ
เป็นคำศัพท์ที่รู้กันว่าการประกันความรับของเจ้าของเรือนั้นเรียก “P&I” ซึ่งเป็นความคุ้มครองพิเศษที่ออกแบบให้ความคุ้มครองผู้ประกอบการเดินเรือที่ต้องรับผิดจากบุคคลภายนอกเนื่องจากเรือที่เอาประกันเป็นต้นเหตุโดยส่วนใหญ่แล้ว “P&I” จะเป็นประเภทสมาคม ชมรม (Club) ที่ก่อตัวขึ้นโดยให้ความคุ้มครองสมาชิกที่เข้าร่วม โดยสมาชิกต้องจ่ายค่าสมาชิกที่เปรียบเสมือนเบี้ยประกันภัย สมาชิกจะได้รับความคุ้มครองจากสมาคม (Club) โดยคร่าวๆดังนี้
- ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเนื่องจากการชนของเรือ
- ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเสียหาย เช่น ชนท่าเรือคนอื่นๆขณะเทียบท่า
- มลภาวะ น้ำมัน ที่ใหลรั่วออกจากเรือ
- การบาดเจ็บ เจ็บป่วย เสียชีวิต ของลูกเรือ ผู้โดยสาร และผู้ปฏิบัติขนของขึ้นลงจากเรือ
- การส่งลูกเรือที่เจ็บป่วยกลับประเทศเพื่อรักษา และค่าใช้จ่ายการส่งคนทดแทน
- ความรับผิดภายใต้สัญญาลากจูงเรือ หรือสัญญาการชดใช้อื่นๆ
- สามารถขยายความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ขนส่ง ที่เสียหาย สูญหาย
- ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้จากสัญญาค่าใช้จ่ายการรักษาเรือ General Average
- ค่าปรับ ค่าใช้จ่ายด้านการสู้คดี และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ค่ากู้ซาก
- ส่วนเกินของความคุ้มครองภัยสงคราม
การประกันภัยขนส่งสินค้าที่ใช้ในโครงการ
บางครั้งเครื่องจักร หรือเครื่องมือ ที่ใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่นเครื่องกำหนิดไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไอน้ำแรงดันสูง โครงสร้างแท่นขุดเจาะ ฯลฯ ที่ไม่สามารถขนส่งโดยถอดแยกชิ้นส่วนได้ จึงไม่สามารถบรรจุลงในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อขนส่งผ่านหานะต่างๆได้ บางครั้งจึงต้องวางบนดาดฟ้าเรือ ท้องเรือ รถบรรทุกขนาดใหญ่ เครื่องบิน รถไฟ เป็นต้น จึงมีแบบประกันภัยที่ออกแบบพิเศษสำหรับทรัพย์สินที่มูลค่าสูงและต้องการๆดูแลพิเศษเหล่านี้ รวมถึงการบริการโดยให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลการยกขึ้น ยกลง บนพาหนะ การให้คำแนะนำป้องการความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ การสำรวจร่องรอยความเสียหายให้เป็นหลักฐานทั้งก่อนขนส่งและหลังจากเกิดความเสียหาย
การประกันภัยความล่าช้าของโครงการเนื่องจากการขนส่ง
เป็นผลต่อเนื่องจากกรมธรรม์ขนส่งสินค้าที่ใช้ในโครงการ (Project Cargo Insurance) สินค้าอาจได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่ง และส่งกระทบต่อโครงการก่อสร้าง ซึ่งทำให้เกิดการล่าช้า ไม่สามารถส่งมอบโครงการ หรือเปิดดำเนิงานได้ตามเวลา จึงเกิดความเสียหายด้านการเงินตามมา เช่น รายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากการเปิดดำเนินงานของเจ้าของโครงการที่ต้องเลื่อนออกไป, เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยที่ต้องชดใช้สถาบันการเงินโดยไม่มีรายรับมาสนับสนุน, การล่าช้าในการจ่ายค่างวดผู้รับเหมาเพราะไม่สามารถส่งมอบงานในเวลาได้, ฯลฯ เหล่านี้จึงมีผลกระทบอย่างมากกับทุกฝ่าย ดังนั้นกรมธรรม์การประกันภัยความล่าช้าของโครงการเนื่องจากการขนส่ง จึงมีบทบาทสำคัญในโครงการใหญ่ๆโดยสามารถนำรายได้ที่คาดว่าจะได้รับมาคำนวณเป็นทุนประกัน และระยะเวลาที่คาดว่าจะเกิดการล่าช้าที่สุดของโครงการมาเป็นระยะเวลาชดใช้ของกรมธรรม์
บริษัทแชมป์ อินชัวร์ โบรคเกอร์
สำนักงานใหญ่ 6/107 ซอย บรมราชชนนี 74
แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขต ทวีวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10170
เบอร์โทรศัพท์ (02) 888 6540-1
เบอร์โทรสาร (02) 888 6542
อีเมล support@champinsure.com
© All rights reserved. : Champ Insure Broker .
Line ID:@champinsure
Dashboard Administrator