ด้านรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ)
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ) นั้นเป็นประกันภัยที่รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกนั้น ต้องมีตามกฏหมาย เพื่อที่จะให้คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับการบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิตจากการรถหรือการใช้รถ
เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่ เลือกที่จะซื้อประกันภัยการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ) นี้ควบคู่ไปกับการประกันภัยภาคสมัครใจ เพื่อที่จะความคุ้มครองความเสียหายให้กับตัวรถยนต์ของตัวเอง รถยนต์คู่กรณี ทรัพย์สินต่างๆของบุคคลภายนอก รวมถึงคุ้มครองการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตของบุคคลในรถ และบุคคลภายนอกในส่วนเกินของกรมธรรม์ พ.ร.บ นั้นเอง
ใครบ้างที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ) นี้ ?
- ทุกคนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากอุบัติเหตุจากรถยนต์คันที่มีประกันภัยนี้ เช่น ผู้ขับขี่, ผู้โดยสาร, บุคคลภายนอกรถ, คนเดินเท้า, ฯลฯ
กรมธรรม์การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ(พ.ร.บ) นี้คุ้มครองอะไรบ้าง ?
ค่าเสียหายเบื้องต้น
บริษัทฯ จะชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หากเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด ซึ่งจะต้องชดใช้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับการร้อขอ โดยจะชดใช้ตามตารางเปรียบเทียบข้างล่างนี้
-
ส่วนเกินของค่าเสียหายเบื้องต้น
การชดใช้ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นนั้น จะต้องรอการพิสูจน์ฝ่ายผิด และฝ่ายถูกของการเกิดอุบัติครั้งนั้นๆ โดยฝ่ายผิดจะทำการชดใช้ให้แก่ผู้เสียชีวิต หรือทายาท หรือการบาดเจ็บ ในส่วนเกินของค่าเสียหายเบื้องต้น
ตารางเปรียบเทียบ
ผู้ประสบเหตุ | ค่าเสียหายเบื้องต้น | ส่วนเกินของค่าเสียหายเบื้องต้น |
---|---|---|
ผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นผู้ขับขี่ในรถที่เอาประกัน |
|
- |
ผู้ประสบอุบัติเหตุอื่นๆ (ยกเว้นผู้ขับขี่ในรถที่เอาประกัน) |
|
|
*หมายเหตุ : ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้ จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับ 1), 2) และ 3) รวมกันไม่เกิน 204,000 บาท ต่อหนึ่งคน และรวมกันไม่เกิน 5,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง(สำหรับรถยนต์นั่งหรือรถบรรทุกผู้โดยสารที่ไม่เกินเจ็ดคน) และไม่เกิน 10,000,000 บาทต่ออุบัติแต่ละครั้ง (สำหรับรถยนต์ทีมีที่นั่งเกินเจ็ดคนหรือรถบรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่เกินเจ็ดคน)
อย่างไรก็ตามการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์พรบ.นี้จะต้องพิจารณาความผิดตามกฏหมายด้วย
ผลพิสูจน์ | ผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นบุคคลภายนอกรถที่เอาประกันภัย | ผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นบุคคลภายในรถที่เอาประกันภัย | ผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย |
---|---|---|---|
ฝ่ายผิด |
|
|
|
ฝ่ายถูก |
|
|
|
*หมายเหตุ : ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้ จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับ 1), 2) และ 3) รวมกันไม่เกิน 204,000 บาท ต่อหนึ่งคน และรวมกันไม่เกิน 5,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง(สำหรับรถยนต์นั่งหรือรถบรรทุกผู้โดยสารที่ไม่เกินเจ็ดคน) และไม่เกิน 10,000,000 บาทต่ออุบัติแต่ละครั้ง (สำหรับรถยนต์ทีมีที่นั่งเกินเจ็ดคนหรือรถบรรทุกผู้โดยสารรวมทั้งผู้ขับขี่เกินเจ็ดคน)
การประกันภัยภาคสมัครใจ
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัย และรถยนต์คู่กรณี ทรัพย์สินบุคคลภายนอก ความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอกรวมถึงผู้โดยสาร ในส่วนที่เกินการประกันภัยภาคบังคับ(พรบ.)
ความคุ้มครองนั้นจะระบุวงเงินความคุ้มครองตามตารางกรมธรรม์ในส่วน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก, ความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันภัยเอง ในกรณีเสียหายจากการชน สูญหาย ไฟไหม้ (ขึ้นอยู่กับประเภทกรมธรรม์) รวมถึงการเสียชีวิต บาดเจ็บของผู้โดยสาร และวงเงินประกันตัวผู้ขับขี่
การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?
ความคุ้มครอง | ประเภท 1 | ประเภท 2 | ประเภท 3 | ประเภท 2 พิเศษ | ประเภท 3 พิเศษ |
---|---|---|---|---|---|
1) ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก | |||||
- ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พรบ. | |||||
- ความเสียหายต่อทรัพย์สิน | |||||
2) รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้ | |||||
- ความเสียเนื่องจากการชน | * | * | |||
- สูญหาย/ไฟไหม้ | |||||
3) ความคุ้มครองเพิ่มเติม (เอกสารแนบท้าย) | |||||
- อุบัติเหตุส่วนบุคคล เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร (ผู้ขับขี่ 1 คน และผู้โดยสาร....คน) | |||||
- ค่ารักษาพยาบาล (ผู้ขับขี่ 1 คน และผู้โดยสาร....คน) | |||||
4) การประกันตัวผู้ขับขี่ |
*หมายเหตุ : คุ้มครองความเสียหายเนื่องจากการชน ที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะที่สามารถจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกเท่านั้น
การประกันภัยขยายการรับประกันเครื่องยนต์
เป็นการขยายระยะเวลาการรับประกันรถยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์รายนั้นๆ ในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดกับระบบของเครื่องยนต์ กลไก หรือระบบไฟฟ้าต่างๆในรถยนต์ โดยทั่วไปจะเป็นการขยายออกไปอีก 1 ถึง 3 ปี ซึ่งอาจมีการกำหนดเลขระยะทางเป็นตัวกำกับเอาไว้ด้วย
โดยส่วนให้กรมธรรม์จะไม่คุ้มครองการเสื่อมสภาพโดยธรรมชาติ, การขาดการบำรุงรักษาตามที่ผู้ผลิตแนะนำ, การขับขี่โดยประมาท, ความเสียหายที่คุ้มครองในกรมธรรม์รถยนต์, เป็นต้น การชดใช้ในกรมมธรรม์นี้จะเป็นการจ่ายโดยบริษัทประกันภัยสำหรับค่าซ่อม หรือเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ ในระยะเวลาที่เอาประกันภัย
การประกันภัยส่วนต่างมูลค่ารถยนต์ กับวงเงินสินเชื่อ
ป็นกรมธรรม์ที่ออกแบบเพื่อให้ความคุ้มครองส่วนต่างระหว่างมูลค่ารถยนต์เมื่อเกิดความเสีญหายกับจำนวนหนี้ที่เจ้าของรถยนต์ยังคงค้างอยู่ กรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองก็ต่อเมื่อรถยนต์คันที่เอาประกันภัยเกิดสูญหาย หรือประสบอุบัติเหตุจนเกิดความเสียหายทั้งคันมีค่าซ่อมมากกว่า 70% ของทุนประกันรถยนต์ (Total Loss) และเงินที่ได้รับการชดใช้การประกันภัยรถยนต์นี้ไม่เพียงพอกับมูลหนี้ของการเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว
ตัวอย่าง : ท่านซื้อรถยนต์ราคา 2,000,000 บาท และได้มีการวางเงินดาว์นไว้ที่ 300,000 บาท ค่างวดชำระต่อเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท 6 เดือนผ่านไปรถคันดังกล่าวเกิดถูกโจรกรรมสูญหายไป บริษัทประกันภัยรถยนต์ได้ชดใช้วงเงินที่เอาประกันรถยนต์คันดังกล่าวหรือราคาในขณะนั้นที่ 1,200,000 บาท ดังนั้นรวมเงินดาว์นและงวดที่ผ่อนชำระมา 6 เดือนอยู่ที่ 420,000 บาท เพราะฉะนั้นท่านเหลือมูลหนี้ที่ต้องผ่อนชำระอยู่ที่ 380,000 บาท
ดังนั้นการประกันภัยส่วนต่างมูลค่ารถยนต์ กับวงเงินสินเชื่อจะชดใช้ที่ 380,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างวงเงินประกันภัยรถยนต์ (1,200,000 บาท) และมูลค่าสินเชื่อที่เหลืออยู่ (1,580,000 บาท)
การประกันภัยส่วนต่างมูลค่ารถยนต์ กับวงเงินสินเชื่อนี้เหมาะกับ :
- เงินดาว์นต่ำ
- ระยะการผ่อนชำระนาน
- รถมีมูลในตลาดตกเร็ว
- ดอกเบี้ยเงินกู้สูง
บริษัทแชมป์ อินชัวร์ โบรคเกอร์
สำนักงานใหญ่ 6/107 ซอย บรมราชชนนี 74
แขวง ศาลาธรรมสพน์
เขต ทวีวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10170
เบอร์โทรศัพท์ (02) 888 6540-1
เบอร์โทรสาร (02) 888 6542
อีเมล support@champinsure.com
© All rights reserved. : Champ Insure Broker .
Line ID:@champinsure
Dashboard Administrator